Kib nanthaphorn เด็กพลศึกษา Kib nanthaphorn เด็กพลศึกษา Kib nanthaphorn เด็กพลศึกษา Kib nanthaphorn เด็กพลศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติกีฬาแฮนด์บอล ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาแฮนด์บอล
กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนี โดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนดกติกาขึ้นโดยอ้างอิงจากกติกาของกีฬาฟุตบอลเป็นหลัก ซึ่งเป็นการดัดแปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทน เดิมใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากจนเกินไปทำให้เล่นไม่สะดวก จากนั้นจึงค่อย ๆ แพร่หลายเรื่อยมา



          ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนด์บอลถูกนำไปสาธิตในงานกีฬาโอลิมปิก และถูกบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลง

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้กลับมาอีกครั้ง ปัจจุบันกีฬาแฮนด์บอลกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันไปทั่วโลก

  ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย
          หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเมื่อปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน  จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก

          จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นิยมในประเทศไทยในที่สุด

กติกาแฮนด์บอล (แบบย่อ)

          สนามแข่งขัน

          ขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 40 เมตร กว้าง 20 เมตร มีเส้นรอบสนามและเขตประตู โดยประตูจะต้องมีขนาดสูง 2 เมตร กว้าง 3 เมตร ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่ง มีพื้นที่รอบสนามห่างจากเส้นขอบสนามอย่างน้อย 1 เมตร ห่างจากหลังประตู 2 เมตร

          ลูกบอล
         
          ต้องทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์รูปทรงกลม ผิวไม่สะท้อนแสงและไม่ลื่น สำหรับผู้ชายลูกบอลต้องมีขนาดเส้นรอบวง 58-60 เซนติเมตร หนักประมาณ 425-475 กรัม สำหรับผู้หญิงลูกบอลต้องมีขนาดเส้นรอบวง 54-56 เซนติเมตร หนักประมาณ 325-400  กรัม และต้องมีลูกบอลสำหรับการแข่งขัน 2 ลูก เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นขึ้นแล้วจะเปลี่ยนลูกบอลไม่ได้ นอกจากมีเหตุผลอันสมควร

          ผู้เล่น

          ทีมหนึ่งต้องส่งตัวผู้เล่น 12 คน (รวมผู้เล่นสำรอง) และลงสนามได้ 7 คน คือ ผู้เล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน โดยสามารถเปลี่ยนตัวเข้าเล่นได้ทุกเวลา และสามารถเปลี่ยนตัวกลับเข้าในสนามใหม่ได้ โดยผู้เล่นจะต้องสวมเสื้อทีมที่ติดหมายเลข 1-20 ไว้ที่เสื้อ โดยมีขนาดตัวเลข สูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตร กว้างอย่างน้อย 10 เซนติเมตร สีของตัวเลขตัดกับเสื้ออย่างชัดเจน สวมใส่รองเท้ากีฬา และห้ามใส่เครื่องประดับทุกชนิด

          วิธีการเล่น


  ใช้มือจับ ขว้าง โยน ลูกบอล ส่งต่อกันกับผู้เล่นในทีมตนเอง เพื่อขว้างบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้าม
  ห้ามใช้ร่างกายส่วนที่ต่ำกว่าหัวเข่าลงไปโดนลูกบอล

  ผู้เล่นสามารถถือลูกบอลไว้ในมือได้ไม่เกิน 3 วินาที

  ขณะถือลูกบอลสามารถก้าวขาได้ไม่เกิน 3 ก้าว

  ห้ามผู้เล่นดึงลูกบอลจากมือของฝ่ายตรงข้าม

  ห้ามเข้าไปในเขตประตูของฝ่ายตรงข้าม

  ใช้เวลาในการแข่งขันครึ่งละ 30 นาที พัก 10 นาที หากมีการต่อเวลาพิเศษจะเพิ่ม 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที

          การคิดคะแนน

          หากสามารถขว้างบอลเข้าประตูฝั่งตรงข้ามได้จะคิดเป็น 1 คะแนนต่อ 1 ครั้ง หากมีการทำเข้าประตูตนเองก็จะเสียคะแนนให้กับฝ่ายตรงข้าม เมื่อหมดเวลาใครทำประตูได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น